พื้นฐานแพทย์แผนจีน

ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา

สรรพสิ่งในโลกนั้นในยินก็มีหยางแฝงอยู่และในหยางก็มียินแฝงเร้นอยู่เช่นกัน อาหารและสมุนไพรแต่ละชนิดทางการแพทย์แผนจีนถือว่ามีทั้งส่วนที่เป็นยินและหยางผสมกันอยู่ อาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมหรือปรับร่างกายให้สมดุล เพื่อป้องกันและรักษาโรค  “แตงโม” ราชาผลไม้ในฤดูร้อน เนื้อแตงโม : คุณสมบัติเย็น รสหวาน จัดเป็นพวกยิน ช่วยดับร้อน แก้กระหายน้ำ แก้อาการเจ็บคอ แก้ร้อนกระวนกระวาย แก้พิษสุรา และขับปัสสาวะ เมล็ด : คุณสมบัติเป็นกลาง (ไม่ร้อนไม่เย็น) มีรสจืด ตำผสม น้ำผึ้งตุ๋นกิน แก้ท้องผูก เปลือก : ผิงไฟบดเป็นผงทาแก้แผลในปาก “ส้ม” ผู้อาวุโสของผลไม้ คุณสมบัติเย็นเล็กน้อย รสเปรี้ยวหวาน จัดเป็นยิน เนื้อส้ม : ทำให้ชุ่มคอ แก้ไข แก้ไอเรื้อรัง ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำแก้ฤทธิ์สุรา ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก เปลือก : เคี้ยวเฉพาะเปลือกกินหรือบดเป็นผง กินแก้จุดแน่น บริเวณท้องและหน้าอก เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ชง ดื่มต่างน้ำชาแก้เจ็บคอ เปลือกตากแห้งจุดไล่ยุง เมล็ด : ทุบให้แหลกต้มน้ำเติมน้ำส้มสายชู กินบำรุงน้ำนม …

ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา Read More »

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน

ความสนใจในคุณค่าการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย มีอายุยืนยาว มักจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดจากการเจ็บป่วย หรือเมื่ออยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตถูกคุกคามด้วยโรคร้าย เรียกว่า ต้องเห็นโลงศพจึงหลั่งน้ำตา คนเราเมื่อยามสุขภาพไม่ดี ก็จะเห็นว่าสุขภาพมีความสำคัญ เมื่อยามที่จะต้องสูญเสียชีวิต ก็จะเห็นว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง การปล่อยปละละเลยต่อการดำเนินชีวิต ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ แห่งธรรมชาติ ละเมิดวิถีแห่งธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมเสื่อมถอย โรคภัยไข้เจ็บคุกคามเมื่อย่างเข้าสู่ ภาวะเสื่อมถอย คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้กล่าวถึง แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพไว้อย่างน่าสนใจ ควรแก่การศึกษา แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพ เมื่อพลังเจิ้งชี่ยังดำรงอยู่ ปัจจัยก่อโรคก็มิอาจกระทำต่อร่างกายได้(正气存在,邪不可干)ธรรมชาติได้ให้เทียบเท่ากันของทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ทุกชีวิตดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ทำไมคนเราจึงไม่ติดเชื้อโรค หรือเป็นโรคทั้งๆที่มีเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ฯลฯ อยู่ในสิ่งแวดล้อม รายล้อมร่างกายเล่า? แพทย์แผนจีนมองว่าในภาวะปกติ พลังเจิ่งชี่(正气)ของร่างกายยังอยู่ในภาวะที่ดำรงอยู่ร่วมกันได้กับแบคทีเรีย และไวรัสหรือสิ่งก่อโรคอื่นๆ แต่เมื่อใดตามร่างกายอ่อนแอลง พลังเจิ้งชี่ไม่อาจต้านทานการบุกรุกของเชื้อโรค ก็จะเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บตามมาทันที ร่างกายมนุษย์เปรียบเสมือนกับประเทศชาติ ภาวะสมดุลของร่างกาย คือ ภาวะการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ จะต้องมีการพัฒนาที่สมดุล มั่งคง …

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน Read More »

ซุนซือเหมี่ยว กับเคล็ดลับสุขภาพ

ซุนซือเหมี่ยว (คศ.541 – 682) แพทย์จีนนามอุโมษแห่งราชวงศ์ถัง  เป็นแพทย์จีนและนักพฤกษศาสตร์เกี่ยวกับสมุนไพรที่ยิ่งใหญ่ของจีนและระดับโลก  มีฉายาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชาแห่งสมุนไพร”  (药王)  และ “หมอเทวดา” (神医) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคเรื้อน (麻风病), เป็นผู้กำหนดวิธีการหาจุดฝังเข็ม, การใช้รกของเด็กทารกบดเป็นผงรักษาโรค, การใช้ตับรักษาโรคตา, การใช้ต่อมไทรอยด์ของแพะรักษาโรคไทรอยด์โต (รากฐานความคิดใช้เซลล์รักษาเซลล์ในปัจจุบัน) ซุนซือเหมี่ยว (孙思邈) กับแนวคิดการ “ถนอมรักพลัง” (爱气)  ถ้าองค์รวมของมนุษย์เสมือนกับประเทศชาติแล้วไซร์ ความคิดและจิตวิญญาณ (神) ก็เปรียบเสมือนหนึ่งพระราชา  ประชาชนของประเทศจะเปรียบเสมือนชี่ (气พลัง) นั่นเอง การปกครองประเทศให้สงบสุข จะต้องถนอมรักประชาชน (爱民) การดูแลสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ต้องถนอมรักชี่(พลัง爱气) เพราะพลัง คือ สิ่งขับเคลื่อนชีวิต พลังของร่างกายจะเสื่อมถอยลดน้อยลงตามกระบวนการวิถีธรรมชาติของชีวิต ดังนั้นการเสื่อมชราภาพเป็นผลจากการเสื่อมถอยของพลังของร่างกายนั่นเอง คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้บรรยายสภาพการเสื่อมถอยของร่างกายไว้ว่า                 “อายุ 40 ปี พลังชีวิตลดเหลือครึ่ง เริ่มต้นความเสื่อม…อายุ 50 ปี ตัวจะหนัก ร่างกายและสายตาจะไม่ค่อยฉับไว…อายุ 60 …

ซุนซือเหมี่ยว กับเคล็ดลับสุขภาพ Read More »

การกินเจ กับผักต้องห้ามทั้ง 5

ประเพณีการกินเจ ได้กำหนดนับเอาวันจันทรคติ คือเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน เรื่องระหว่างการกินเจ ถ้าจะเคร่งครัดจริงๆ ต้องถือศีล8 (อุโบสถศีล)ควบคู่กันไปด้วย เพื่อดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา และใจ  การกินเจ คือการไม่กินอาหารคาว ซึ่งรวมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และพืชผักที่มีกลิ่นฉุน การไม่กินเนื้อสัตว์ เพื่องดการทำอันตรายต่อสัตว์ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทั้งปวงที่ทำมาจากสัตว์ พระในนิกายมหายาน(พระจีน)มักเคร่งครัดการห้ามกินเนื้อสัตว์มากกว่าพระในนิกายหินยาน อย่างไรก็ตาม “อาหารคาวทั้ง 5”五荤 ไม่ว่าจะเป็นทางพุทธและทางเต๋า ไม่ได้มีความหมายถึงอาหารประเภทเนื้อ แต่มีความหมายถึงพืชผักที่มีกลิ่นฉุนทั้ง 5 การงดอาหารดังกล่าว แม้จะทำให้ภาวะจิตใจสงบลง แต่บางคนอาจเกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เพราะสภาพร่างกายพร่องหรึอเย็นเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะทำให้ร่างกายถูกยั้บยั้งหรือเป็นยินมากขึ้น จะทำให้ไม่ค่อยสบายตัว อ่อนเพลีย บางคนอาจมองว่าร่างกายกำลังขับสารพิษแต่เพียงด้านเดียว การเรียนรู้ฤทธิ์และรสรวมถึงสรรพคุณของอาหารและนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายที่เป็นจริง “อาหารคาวทั้ง 5”五荤 กระเทียมโทน(薤 )มีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ดขม …

การกินเจ กับผักต้องห้ามทั้ง 5 Read More »

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน

หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะตัน มีเยื่อหุ้มหัวใจปกคลุมห่อหุ้มอยู่ภายนอก หัวใจเปรียบเสมือน จ้าวแห่งชีวิต (生命之主宰) เป็นแกนหลักของอวัยวะภายในทั้งหมด(五脏六腑之大主) 1. อวัยวะหัวใจ สัมพันธ์กับจิตใจ ความนึกคิด การรับรู้และการตอบสนอง จึงสามารถมองการทำงานของหัวใจจากแววตา สีหน้า ราษี ความมีชีวิตชีวา การรับรู้ตอบสนองต่อสื่งกระตุ้น อวัยวะรับความรู้สึก หู ตา จมูก ลิ้น – หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อ(血肉之心) ความหมายใกล้เคียงกับอวัยวะหัวใจทางกายวิภาค อยู่ในช่องอกระหว่างปอดและตับ แนวระดับกระดูกสันหลังที่ 5 – หัวใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจ (神明之心) ทำหน้าที่ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ความรู้สึกตัว การรับรู้ การคิด อารมณ์ ฯลฯ 2. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร (心主血脉) การทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของหัวใจอาศัย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ พลังหยางของหัวใจที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม เป็นตัวกำหนด แรงบีบตัว อัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจ เลือดที่เพียงพอและคุณภาพเลือดที่ดี กำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือด ทางเดินเลือดไม่ติดขัด กำหนดการไหลเวียนที่คล่องตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย 3. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร ความอุดมสมบูรณ์แสดงออกบนใบหน้า เปิดทวารที่ลิ้น   …

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน

ความต้องการทางเพศและการสืบพันธุ์เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ สมรรถภาพทางเพศและความสามารถในการสืบพันธุ์ขึ้นอยู่กับอวัยวะภายใน คือ ไตเป็นสำคัญ ถ้ามีการดูแลและเข้าใจกฎเกณฑ์ของการทำงานของไต (ในทรรศนะการแพทย์แผนจีน) และจัดการกับปัญหาทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้พลังไตเสื่อมช้า มีสมรรถภาพทางเพศที่ดีอยู่ได้นาน ถ้าจัดการไม่ถูกต้องก็จะมีการเสื่อมสมรรถภาพเร็วก็โรคมะเขือเผาทั้งๆ ที่ไม่ถึงเวลาอันควร 5 ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในทรรศนะแพทย์จีน 1. เพศสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่ดีและการมีชีวิตที่ยืนยาว ตามหลักทฤษฎียิน-หยาง ชายเป็นหยาง หญิงเป็นยิน  การมีเพศสัมพันธ์คือการปรับสมดุลยิน-หยาง การเสริมยิน บำรุงหยาง ทำให้อายุยืน นาน “หญิงบำรุงชาย ชายบำรุงหญิง” 2. “เพศสัมพันธ์” เป็นสิ่งที่ขาดมิได้ แต่มากเกินก็ไม่ได้ “อาหาร และความต้องการทางเพศ เป็นสิ่งพื้นฐานของชีวิต เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้” แพทย์จีนชื่อ เก๋อหง สมัยจิ้น ประมาณ ๑,๕๐๐ ปีก่อน กล่าวไว้ว่า “คนเรามีชีวิตอยู่ไม่ได้ ถ้าปราศจากการแลก- เปลี่ยนยิน-หยาง จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เก็บกด จะทำให้เกิดโรค ชีวิตจะสั้น”  การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการควบคุม เหมือนใบมีดที่จะเฉือนถึงกระดูก จะทำลายชีวิต เป็นข้อความบันทึกไว้ในตำราพิชัยสงคราม “ยิน-ฝู่จิง” เมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปี …

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง

พลังไตเป็นรากฐานของอวัยวะภายใน ทั้ง 5 (肾是五脏之根)  ไตเป็นที่เก็บของพลังสำรอง  เมื่ออวัยวะภายในอื่นๆขาดแคลนพลังจะเรียกใช้บริการของไต คนที่ไตแข็งแรง แสดงออกถึงอย่างไร? 1. ไตดี : การเจริญเติบโตดี (เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน) ผู้หญิงใช้เลข 7 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้ชายใช้เลข 8 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้หญิงอายุ 4×7 = 28ปี  เป็นช่วงที่พลังไต ถึงขีดสุด เอ็นกระดูกแข็งแรง                   5×7 = 35ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้หญิง ผู้ชายอายุ   4×8 = 32ปี เป็นช่วงที่พลังสูงสุดของเพศชาย                    5×8 = 40 ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้ชาย 2. ไตดี : ระบบสืบพันธุ์ดี จิงของไต (มีความหมายคล้ายกับระบบฮอร์โมน) เป็นตัวกระตุ้นระบบการสืบพันธุ์ กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ผู้ชายมีเชื้ออสุจิ ผู้หญิงมีประจำเดือน คนที่ไตอ่อนแอ ในผู้หญิงจะมีอาการประจำเดือนไม่ปกติ มดลูกเย็น …

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง Read More »

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง

เคล็ดลับเหล่านี้ เป็นภาพรวมของการปรับสมดุลยินหยาง ที่เน้นหลักการสงบมีความสำคัญกว่าการเคลื่อนไหว เพราะความสงบทางจิตจะควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีสติ การเคลื่อนไหวเน้นทางร่างกายมากกว่าทางจิต อย่างไรก็ตามสำหรับบางคนแล้วอาจต้องเสริมความเคลื่อนไหวทางกาย และอาศัยในที่อุ่นร้อนมากสักหน่อย เพราะร่างกายสู้ความหนาวไม่ได้ น้นคือการปรับสมดุลให้สอดคล้องกับสภาพของปัจเจกบุคคล 1. ใช้ความสงบรักษาสุขภาพ (静养) คนที่ไม่สงบจะมีการเสียพลังงานตลอดเวลา และไม่สามารถเก็บพลังได้ การนั่งสมาธิ, การนอนหลับที่เพียงพอตามเวลาที่เหมาะสม จะประหยัดการใช้พลังงานชีวิต ทำให้มีพลังไว้ใช้นานๆ 2. ใช้ความเนิบช้า รักษาสุขภาพ (缓慢养生) ถ้าเราสามารถควบคุมการหายใจ, การเต้นของหัวใจ, การปรับสมดุลของระบบประสาท, การหลั่งฮอร์โมนให้ละมุนละม่อม ไม่รวดเร็วรุนแรง จะเป็นการประหยัดพลังงานชีวิตที่สำคัญ การศึกษาสมัยใหม่พบว่า คนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักจะมีอายุยืน ไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือเมื่อเจ็บป่วยก็หายเร็วกว่าเมื่อเทียบกับคนที่หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว ขณะเดียวกันสภาพจิตใจของคนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักมีภาวะทางจิตสมาธิดี และเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความสุขกับชีวิต จะเกิดภาวะปล่อยวาง,ไม่บีบคั้น   จิตเป็นสมาธิจะควบคุมการปรับสมดุลทำให้ร่างกายทำงานช้าลง คือการยืดอายุนั้นเอง   3. อาศัยบนที่สูง, อากาศเย็น รักษาสุขภาพ (高寒养生) คัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงคนที่อาศัยอยู่ในที่สูงและอากาศเย็น มักมีอายุที่ยืนยาว อากาศที่เย็น จะลดอุณหภูมิ,ลดการเผาผลาญ, …

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง Read More »

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง

เปี่ยนเชวียะ扁鹊 (ก่อน ปีค.ศ.407 – 310) เป็นแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานหลักการตรวจจับชีพจรแบบแพทย์จีน ครั้งหนึ่ง เว่ยเวินหวาง (魏文王) กษัตริย์แห่งรัฐฉินในสมัยชุ่นชิวจ้านกว่อ ( 春秋战国the Warring States period (475-221 BC) ได้สอบถามเปี่ยนเชวียะในข้อข้องใจบางประการ  เว่ยเวินหวางถาม “ในครอบครัวของเจ้ามีพี่น้อง 3 คน ล้วนแต่เป็นแพทย์ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม ถึงที่สุดแล้วทั้ง 3 คนใครเก่งที่สุด?” เปี่ยนเชวียะตอบว่า  “พี่ชายคนโตเก่งที่สุด พี่คนรองเก่งรองมา ส่วนข้าพเจ้าเก่งน้อยที่สุด” เว่ยเวินหวางถามต่อ “แล้วเหตุใด เจ้าจึงเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่า?” เปี่ยนเชวียะตอบ “พี่ชายคนโตรักษาโรคก่อนเกิดโรค คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขาได้ขจัดต้นเหตุและเงื่อนไขต่างๆเพื่อไม่ให้เกิดโรค ชื่อเสียงความสามารถของเขาจึงไม่มีคนรู้ มีแต่คนในครอบครัวเท่านั้นที่รับรู้ ส่วนพี่ชายคนกลางรักษาโรคเมื่อโรคเพิ่งแสดงอาการเริ่มแรก คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการรักษาโรคง่ายๆ จึงมีชื่อเสียงในหมู่บ้าน ส่วนข้าพเจ้ารักษาเมื่อเป็นโรคเมื่อโรคลุกลามและมีความรุนแรงแล้ว คนทั่วไปเห็นข้าพเจ้าใช้เข็ม ใช้การปล่อยเลือด ใช้ยาทาพอกภายนอก ทำให้เข้าใจว่าเป็นแพทย์ฝีมือยอดเยี่ยม ชื่อเสียงจึงระบือไกลทั่วประเทศ” สรุปได้ว่า พี่ชายคนโต ใช้แค่การมองพลังชีวิต บ่งบอกถึงสภาพร่างกายโดยองค์รวม ก็หาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ ดูแลตั้งแต่โรคยังไม่ก่อตัว เป็นการหามาตรการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา …

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง Read More »

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารลดความอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน

ความอ้วน  ในมุมของแพทย์แผนจีน  ส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานร่างกาย เสียสมดุล  คือ ภาวะพลังพร่อง  หรือภาวะหยางพร่อง (ร่างกายเย็น พลังความร้อนที่ให้ความอบอุ่นและการเผาผลาญร่างกายน้อยลง)  ทำให้มีการตกค้างของน้ำและอาหาร เกิดการสะสมเป็นเสมหะน้ำและความชื้น  นานๆเข้าตามมาด้วยภาวะเลือดอุดกั้นและเกิดความร้อนไปรบกวนระบบการไหลเวียนของพลังลมปราณ กระทบถึงอวัยวะภายใน ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย การแบ่งประเภท ความอ้วนที่พบบ่อยแบบแพทย์แผนจีน คนอ้วนที่เกิดจากอวัยวะม้ามหรือระบบการย่อยดูดซึมมีปัญหา  สาเหตุมาจาก ความอ่อนแอของอวัยวะม้าม  หรือการกินอาหารที่มีฤทธิ์เย็น  ปริมาณอาหารที่มากเกินไป  กินอาหารไม่เหมาะสม  นานๆเข้าการย่อยดูดซึมอาหารไม่สมบูรณ์ จะมีภาวะอ้วนแบบ ท้องโต  ตัวหนัก  หัวตื้อ  แน่นหน้าอก  มีเสมหะ คนอ้วนที่เกิดจากอวัยวะไตอ่อนแอ  จะมีลักษณะ แขนขาเย็น  หนักหรือบวมช่วงล่าง  ปัสสาวะบ่อยกลางคืน  เมื่อยเข่า  ขาอ่อนแรง โรคมักพัฒนาต่อเนื่องจากอวัยวะม้ามอ่อนแอ คนอ้วนบางคน  กินเก่ง  หิวง่าย  ตัวแน่น  ขี้ร้อน  หงุดหงิด  แสบท้องเวลาหิว  ปากแห้งคอขม  คนอ้วนกลุ่มนี้  กระเพาะอาหารผลิตน้ำย่อยมากผิดปกติ  เนื่องจากไฟของกระเพาะอาหารมากเกินไป หลักการรักษาหรือเลือกอาหารสมุนไพร  ต้องแยกแยะ  ว่าเป็นโรคอ้วนประเภทไหน  ทุกรายไม่ใช่เน้นหนักที่การใช้ยาขับน้ำ  หรือยาระบาย  ต้องพิจารณาการเสริมบำรุงม้ามหรือไต  ร่วมกับวิธีการขับน้ำ  …

อาหารลดความอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารสมุนไพรจีน กับภาวะ ไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันเลือดสูง คือ ภาวะที่ตรวจเลือดพบว่ามีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งไขมันในร่างกายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ  2 ประเภท 1. ไขมันชนิดอันตราย ได้แก่ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ชนิดที่เป็นไขมันเลว คือ  แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL)   ถ้ามีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูง ก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้น จนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก (ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาล และแป้งหรือ จากอาหารที่รับประทานเข้าไป  มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ  การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้น ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl) 2. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไขมันชนิดดี คือ เอชดีแอล ((High density lipoprotein-HDL)   ยิ่งมีระดับสูงเท่าจะยิ่งเป็นผลดี  …

อาหารสมุนไพรจีน กับภาวะ ไขมันในเลือดสูง Read More »

ความแตกต่างของหญิงและชาย ในมุมมองแพทย์แผนจีน

“ธรรมชาติของเพศชายเป็นหยาง มีลักษณะเคลื่อนไหว กระจายตัวออกนอก ขึ้นสู่บน ธรรมชาติของเพศหญิงเป็นยิน มีลักษณะหยุดนิ่ง สงบ เก็บเข้าด้านใน ลงสู่ด้านล่าง” สรีระพื้นฐานได้กำหนดลักษณะภายนอก บุคคลิก อารมณ์ จุดอ่อนของร่างกาย  รวมทั้งวิถีการดูแลสุขภาพของทั้งสองเพศให้แตกต่างกัน ผู้ชายต้องเข้มแข็งไม่หยุดนิ่ง (男子要自强不息) : ผู้หญิงต้องเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม อดทน แบกรับอุปสรรค (女子要厚德载物 )   ผู้ชายเปรียบเสมือนม้า ต้องเข้มแข็ง แข็งแรง ทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่เกียจคร้าน เช่นเดียวกับม้าที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้หญิง ต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม สงบ เฝ้าดูแล คอยถ่วงดุล จิตใจต้องเมตตา ค่อยดูดซับอุปสรรค เสมือนกับพื้นดินที่แผ่กว้างไพศาล รองรับสรรพสิ่ง ผู้ชายมีอวัยวะเพศที่พุ่งออกสู่ภายนอก มีลักษณะระบายออกไป ในขณะที่อวัยวะเพศหญิงมีลักษณะเก็บลับ เข้าสู่ด้านใน เพศชายผลิตเชื้ออสุจิจำนวนมากเป็นล้านๆ ตัวอสุจิของเพศชาย มีลักษณะเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง มุ่งไปด้านหน้า แต่จะมีตัวที่แข็งแรงที่สุดที่สามารถคว้าชัยชนะไปรวมตัวกับไข่ของเพศหญิงได้ ผู้ชายที่เข้มแข็งและขยันเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ในสังคม เพศหญิงผลิตไข่ได้เดือนละ 1 ฟอง แต่ในบางช่วงเช่นระยะตั้งครรภ์ก็ไม่มีการตกไข่ การฟูมฟักลูกน้อยตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนคลอด …

ความแตกต่างของหญิงและชาย ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

9 ข้อ 1 นาที สุขภาพดีก่อนลุกตื่นจากที่นอน

ช่วงเวลานอนหลับสมองใหญ่ของคนเราอยู่ระหว่างผ่อนคลาย การไหลเวียนของเลือดทั้งร่างกายน้อย ปริมาณเลือดก็น้อย (เนื่องจากตอนหลับ 6 – 8 ชั่วโมง ไม่ได้มีการรับประทานอาหารและน้ำเข้าสู่ร่างกาย มีแต่การเสียน้ำเสียเหงื่อ รวมทั้งกรองเป็นปัสสาวะ) ถ้าร่างกายเปลี่ยนสภาพจากนอนหลับเป็นตื่นทันที จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูงขึ้นทันที ความต้องการเลือดของสมองและหัวใจมีมากขึ้น แต่ระบบประสาทอัตโนมัติของคนสูงอายุจะปรับตัวไม่ดีเหมือนตอนหนุ่มสาว(โดยเฉพาะถ้ามีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง หรือร่างกายมีโรคเรื้อรังอยู่แล้ว) จึงเกิดอุบัติเหตุ เช่น เวียนศีรษะ เป็นลม หกล้ม จนกระทั่งการเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบแตก หรือหัวใจขาดเลือดได้ง่าย เทคนิคปฏิบัติ 9 ข้อ 1 นาที จะเป็นการเตรียมตัว ก่อนลุกจากที่นอนโดยเฉพาะคนสูงอายุ ใช้นิ้วมือหวีผม1 นาที (手指梳头一分钟) จากหน้าผากถึงท้ายทอย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณสมอง ป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง และทำให้ผมดกเงางาม นวดหูเบาๆ 1 นาที (轻揉耳轮一分钟) นวดขอบหูเบาๆซ้ายขวาทั้งสองข้าง จากขอบหูบนสู่ขอบหูล่างจนเกิดความรู้สึกร้อนผ่าว แล้วนวดในแอ่งหูทุกแอ่งรวมทั้งใช้นิ้วแหย่เข้าในรูหูและกระตุ้นเบาๆ เนื่องจากใบหูมีจุดสะท้อนร่างกายทั่วร่างกาย การกระตุ้นใบหูจึงเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งร่างกาย เคลื่อนไหวดวงตา 1 นาที (转动眼睛一分钟) ปิดเปลือกตา แล้วกลอกตาตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อตา …

9 ข้อ 1 นาที สุขภาพดีก่อนลุกตื่นจากที่นอน Read More »

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม

คนจำนวนมากพอเรียนรู้ว่าอวัยวะไต (ในความหมายแพทย์แผนจีน) ได้ชื่อว่า เป็นอวัยวะรากฐานของชีวิต จึงคิดแต่จะบำรุงไตอย่างเดียว คิดเพียงง่ายๆว่าถ้าไตดีทุกอย่างก็ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอีกว่าไตยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ ด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับไต เช่น หัวใจ, ตับ, ม้าม, ปอด ซึ่งถ้าอวัยวะเหล่านั้นมีปัญหา เช่น เสื่อมหรือทำงานผิดปกติ ก็มีผลกระทบต่ออวัยวะไตด้วย การดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน จึงต้องเข้าใจความเชื่อมสัมพันธ์ของอวัยวะภายในต่างๆ ต้องดูแลอวัยวะอื่นปรับสมดุลควบคู่กับการดูแลไตไปด้วยกัน จึงจะทำให้ต้นไม้แห่งชีวิตเติบใหญ่มีพลังอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่าง อวัยวะตับ กับ ไต ตับกับไต เป็นอวัยวะที่มีแหล่งกำเนิดเดียวกัน (肝肾同源) หน้าที่ของตับ คือ การเก็บเลือด, ทำให้เลือดไหลเวียนคล่องตัวไม่ติดขัด ส่วนหน้าที่ของไต คือ การเก็บสารจิง ไตสร้างไขกระดูก, ไขกระดูกสร้างตับ สร้างเลือด แม้ว่าหน้าที่ของตับและไตจะต่างกัน แต่จะเห็นว่ารากฐานของมันเกี่ยวข้องกัน  เป็นแหล่งของสารจิงและเลือด สารจิงมาจากไตซึ่งมีมาตั้งแต่เกิด สารจิงสร้างไขกระดูกและไขกระดูกสร้างเลือด “สารจิงกับเลือดมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน”(精血同源)ร่างกายทุกอวัยวะล้วนได้รับเลือดไปบำรุงหล่อเลี้ยง ต้องอาศัยการทำงานของตับและสารจิงของไตที่ดีในการสร้างเลือด  เก็บเลือด  ขับเคลื่อนเลือด ดังนั้นการบำรุงไตจึงต้องดูแลการทำงานของตับควบคู่กันไปด้วย คนที่มียินของตับและไตพร่อง นอกจากจะมีอาการปวดเมื่อยเอว แก้มแดง ไข้หลังเที่ยง ร้อนฝ่ามือฝ่าเท้ากลางอก มีเหงื่อลักออก …

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม Read More »